วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปฏิบัติการที่ 3

4.Q:ให้ลองเพิ่มโค้ดให้แสดงผลในเบราเซอร์"ผมชื่อนาย Robert อายุ 25 ปี"โดยใช้ค่าตัวแปรในการแสดงผล

ตอบ
ตอบ




ทดลองเพิ่มโค้ดลงไปแล้วรีเฟรชเบราเซอร์ แล้วดูผลที่ได้












Bitmap
bitmap เป็นไฟล์ที่ใช้ชี้สีในแต่ละ Pixel ตามแกนนอนหรือแถว และสีสำหรับแต่ละ Pixel ในแกนตั้ง เช่น ไฟล์ GIF (Graphics Interchange Format) เก็บ bitmap ของภาพ ความคมชัดภาพบนจอภาพในบางครั้งแสดงในรูปของจุดต่อไว้ (dots per inch) จำนวนจุดต่อนิ้วจะหาได้โดยขนาดทางกายภาพของจอ และการตั้งค่าความละเอียด ถ้าตั้งค่าความละเอียดไว้ต่ำ ทำให้จุดต่อนิ้วต่ำด้วย ซึ่งจอภาพที่ใหญ่กว่าแต่มีค่าความละเอียดเท่ากัน จะทำให้ความคมชัดลดลง


Pixel
Pixel เป็นหน่วยพื้นฐานของสีในระบบโปรแกรมบนจอภาพหรือภาพ ซึ่งหน่วยที่มีลักษณะเป็นหน่วยทางตรรกะมากกว่ากายภาค ขนาดของ Pixel ขึ้นกับการกำหนดความละเอียด (Resolution) ของจอภาพ ถ้าตั้งค่าความละเอียดสูงสุดขนาดของ Pixel จะทำกับขนาดทางกายภาพของ dotpitch (ขนาดของจุด) ของจอภาพ การกำหนดสีของ pixel ใช้การกำหนดผสมของสีเปคทรัม RGB ข้อมูลขอสีสามารถคำนวณไบต์ได้ถึง 3 ไบต์ ซึ่ง 1 สำหรับแต่ละสี true Color หรือระบบสี 24 บิต จะใช้จำนวนไบต์ทั้ง 3 ไบต์ อย่างไรก็ตามระบบสีส่วนใหญ่ใช้ 8 บิต ซึ่งไฟล์สีได้ 256 สี



Host

1. บนอินเตอร์เน็ต คำว่า host หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงแบบสองทาง (two way access) อย่างเดิมที่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในอินเตอร์เน็ต host มีการเจาะจงด้วยหมายเลขของ local หรือ host พร้อมกับหมายเลขของเครือข่ายในรูปของ IP address แบบไม่ซ้ำ ถ้าใช้การติดต่อโปรโตคอลแบบ point-to-point ไปยังผู้ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมี IP address แบบไม่ซ้ำ ตลอดช่วงการติดต่อในครั้งนั้นกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องดังกล่าวมีฐานะเป็น host ในระยะเวลานั้น ดังนั้น host จึงเป็น node ในเครือข่าย


2. ใน IBM และระบบคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม host คือเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำให้ความหมายนี้คือ เครื่องเมนเฟรมมีเครื่องลูกข่ายที่ติดต่อและการใช้บริการจาก host


3. ในความหมายอื่น ๆ คำนี้โดยทั่วไปหมายถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่เป็นผู้ให้บริการกับอุปกรณ์ หรือโปรแกรมที่มีความสามารถต่ำกว่า

Intranet

Intranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวของหน่วยธุรกิจที่ประกอบด้วยการเชื่อมต่อภายใน และสามารถ ใช้ lease line ในเครือข่ายแบบ WAN ตามปกติ intranet รวมถึงการติดต่อผ่าน gateway ไปยังระบบอินเตอร์เน็ตภายนอก จุดประสงค์หลักของ intranet อยู่ที่การใช้สารสนเทศภายในบริษัท และทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างพนักงาน intranet สามารถใช้ในการทำงานเป็นกลุ่มหรือการประชุมทางไกล (Teleconference)


Intranet ใช้ TCP/IP, HTTP และโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ และเปรียบได้เป็นเวอร์ชันของอินเตอร์เน็ต ด้วยช่องทางดังกล่าว บริษัทสามารถส่งข้อความภายในผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยระบบความปลอดภัยพิเศษ ให้ไปยังอีกของระบบ intranet ตามปกติหน่วยงานขนาดใหญ่ยินยอมให้ผู้ใช้ภายใน intranet ติดต่อไปยังภายนอกโดยใช้การกลั่นกรองของ firewall ส่งการส่งออกและนำเข้า เมื่อส่วนใดของ intranet สามารถไปดึงลูกค้า หุ้นส่วน ผู้ขายสินค้า หรือบุคคลอื่น ภายนอกบริษัท ส่วนนั้นเรียกว่า Extranet



Extranet
extranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ใช้ internet protocol และระบบการสื่อสารสาธารณะที่มีความปลอดภัยในการแบ่งส่วนของสารสนเทศ หรือ การปฏิบัติงานของบริษัทกับผู้ขายสินค้า หุ้นส่วน ลูกค้า หรือธุรกิจอื่น extranet สามารถมองเห็นส่วนของ internal ที่มีขยายไปสู่ผู้ใช้ภายนอกบริษัท ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเป็น "สถานะของภายใน" ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอื่น และการขายสินค้าให้ลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จาก HTML, Hypertext Transfer Protocol (HTTP) , Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตที่ได้นำเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือ intranet ที่ดูเหมือนได้รับการออกแบบในเชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจต่างๆ extranet ต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทำให้ต้องการ firewall server ในการบริหารการจ่ายและใช้ของ digital certificate หรือวิธีคล้ายกันของ user authentication, การ encryption ข่าวสาร และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) ที่เป็นช่องทางในเครือข่ายสาธารณะ

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


Geotag มีวีดีโอให้ดูด้วยครับพึ่ง อัพเดต
HTML (Hypertext Markup Language) เป็นกลุ่มของสัญลักษณ์หรือรหัสแบบ markup ที่เขียนในไฟล์สำหรับการแสดงบน web browser โดย markup จะบอก web browser ในการแสดงข้อความบนเว็บเพจ และภาพสำหรับผู้ใช้ รหัสแบบ markup ใช้การอ้างอิงส่วนประกอบ
Client เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 โปรแกรม โดยโปรแกรมหนึ่งที่เป็น client จะสร้างคำของบริการ จากอีกโปรแกรม หรือ server ที่จะทำให้การขอครบถ้วน ถึงแม้ว่าแนวคิด client สามารถใช้โดยโปรแกรมภายในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว แต่แนวคิดนี้ เป็นแนวคิดสำคัญในระบบเครือข่าย ในเครือข่ายแบบจำลอง client ให้แบบแผนการติดต่อภายในโปรแกรม ที่ให้ประสิทธิภาพการกระจายข้ามตำแหน่งที่ต่างกัน

แบบจำลอง client จะมีแม่ข่าย 1 แม่ข่าย บางครั้ง เรียกว่า daemon เป็นผู้กระทำ และคอยคำขอของ client

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



Outernet ช่วยให้ server ต่างๆ สามารถส่งข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นอย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการเดินทางเป็นอย่างมาก


Hyperspectral เกิดจากการที่นักธรณีวิทยาใช้เครื่องตรวจคุณลักษณะเชิงคลื่น(spectral characteristic)หรือที่เรียกว่า Spectroscopy ในการพิสูจน์ทราบ ว่าวัตถุต้องสงสัย เป็นแร่ชนิดใด เพราะธรรมชาติของแร่แต่ละชนิดจะมีการสะท้อน ดูดซับ กระจาย แสงไม่เหมือนกัน
Hyperspectral เน้นจำนวน band มากกว่า ขณะที่ภาพ Multispectral เน้นความละเอียดของภาพหรือ resolution มากกว่าจำนวน band
มุมมองหนึ่งภาพ Hyperspectral เป็นข้อมูล 3 มิติแบบลูกบาศก์ โดยที่ในแนวแกน X-Y เป็นข้อมูลภาพ(spatial information)ส่วน แกน Z แสดงข้อมูลของข้อมูลเชิงคลื่น( spectral information )




Geotag
การทำให้รูปไปปรากฏบนเว็บนั้นก็มีหลายวิธีแต่วิธีหนึ่งที่ดีและแม่นยำก็คือการที่รูปนั้นมีข้อมูลพิกัดฝังอยู่ในรูป ซึ่งไฟล์รูปประเภท jpeg นั้นมีที่ให้ใส่ข้อมูลพิกัดในข้อมูล EXIF ของรูปนั้นหรือการทำ geotagged photo

วิธีการที่จะใส่ข้อมูลพิกัดเข้าไปในรูป jpeg นั้นทำได้ 3 วิธี คือ

1.ใส่ข้อมูลเข้าไปโดยอัตโนมัติจากจีพีเอสโดยตรง ซึ่งต้องอาศัยกล้องถ่ายรูปที่มีจีพีเอสฝังอยู่ในกล้องหรือกล้องที่ต่อกับเครื่องจีพีเอสโดยสายข้อมูล
2.การใช้ข้อมูลจากจีพีเอสมารวมกับรูป ซึ่งต้องใช้เส้นการเดินทาง (track)ซึ่งเครื่องจีพีเอสที่เก็บเส้นการเดินทางได้มีทั้งแบบมือถือ เนวิเกเตอร์ และจีพีเอสแบบบลูทูธ โดยวิธีการทำโดยตั้งเวลากล้องดิจิทัลให้ตรงกับเครื่องจีพีเอสเมื่อรับสัญญาณได้
3.การใส่ข้อมูลพิกัดเข้าไปด้วยตัวเอง ซึ่งมีโปรแกรมจัดการรูปดิจิทัลหลายตัว วิธีการนี้จะต้องหาพิกัดของบริเวณที่ได้ถ่ายรูปนั้นจาก GE หรือ โปรแกรมอื่นๆ และทำได้โดยการสร้าง waypoint ในแต่ละจุดที่ถ่ายรูปแต่ก็ค่อนข้างยุ่งยาก จากนั้นก็มากรอกข้อมูลเข้าไปใน EXIF เอง

ประโยชน์ของการทำรูป geotagged
ช่วยในการนำทาง เนวิเกเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และจีพีเอสมือถือรุ่นใหม่ๆ รองรับการนำทางด้วยภาพ โดยโหลดรูป geotagged เข้าไปในเครื่องหรือเอาใส่หน่วยความจำภายนอก เมื่อจะให้นำทางก็เพียงเลือกรูปที่จะไป ซึ่งง่ายกว่าการไปหาในฐานข้อมูลของแผนที่ หรือการที่ให้ใครมาหาเรา หรือบอกให้ใครไปที่ใดก็เพียงส่งรูปผ่านอีเมล์ไปให้อีกคนที่มีเครื่องที่รองรับการนำทางด้วยรูป
จะเห็นได้ว่านี่เป็นอีกพัฒนาการอีกขั้นของจีพีเอส ที่นำมาใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายรูปแล้วทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นบนโลก ที่ในอดีตทำได้ยาก ผมเห็นว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นของการนำจีพีเอสมาใช้ร่วมกับสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว แต่ทำให้การรวมกันของสองสิ่งนั้นเกิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อความสะดวกและก้าวหน้าของทุกคน


Digital Image Procressing จะเกี่ยวข้องกับ Remote Sensing

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก